วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 3 โครงสร้างของโปรโตคอล TCP/IP

โครงสร้างของสถาปัตยกรรมของชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนกรรมวิธีปฏิบัติการหรือโปรเซส (Process) โฮสต์ (Host) และเครือข่าย (Network) ในส่วนของโปรเซสก็ได้ แก่ เอนทิตี้หรือแอปพลิเคชันที่ต้องการติดต่อสื่อสารนั่นเอง ทุกโปรเซสจะกระทำในเครื่องโฮสต์ (หรือสเตชั่น) ซึ่งในแต่ละโฮสต์สามารถจะมีหลาย ๆ เอนทิตี้ไดพร้อมกันการสื่อสารระหว่างเอนทิตี้ของโฮสต์เครื่องหนึ่ง หรือ หลายเครื่องจะกระทำโดยผ่านทางเครือข่ายที่โฮสต์เชื่อมต่ออยู่
การทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างโปรเซส โฮสต์ และเครือข่ายของสถาปัตยกรรม TCP/IP ทำให้สามารถจัดรูปแบบของสถาปัตยกรรม TCP/IP ได้เป็น 4 เลเยอร์ และสามารถกำหนดชนิดของ โปรโต- คอลที่ ทำงานในแต่ละเลเยอร์ได้เป็น 4 แบบโปรโตคอลเช่นกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นเอนทิตี้ของแต่ละเลเยอร์อาจจะติดต่อสื่อสารข้อมุลโดยผ่านเอนทิตี้ในเลเยอร์เดียวกัน หรือเอนทิตี้ ในเลเยอร์ล่างลงไปซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป้นเลเยอร์ติดกันได้ เลเยอร์ของชุดโปรโตคอล TCP/IP ทั้ง 4 ชั้น คือ
1. เลเยอร์ Network Access
2. เลเยอร์ Internet
3. เลเยอร์ Host-to-Host
4. เลเยอร์ Process/Application
รายละเอียดแต่ละเลเยอร์
1. เลเยอร์ Network Access จะประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่าย หน้าที่ของโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้คือจัดหาเส้นทางของข้อมูลให้ระหว่าง Host กับ Host ควบคุมการไหล ของข้อมูล และควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล
2. เลเยอร์ Internet ประกอบด้วยขั้นตอนการอนุญาตให้ข้อมูลไหลผ่านไปมาระหว่าง Host ของ เครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ดังนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น Internet นอกจากจะมีหน้าที่จัดเส้นทาง ของข้อมูลแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นเกตเวย์สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายอื่นอีกด้วย
3. เลเยอร์ Host-to-Host ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ส่งผ่านแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เอนทิตี้ของ Host ต่างเครื่องกัน นอกจากนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของ ข้อมูลและควบคุมความผิดพลาดของข้อมุลด้วย โปรโตคอลที่ใช้กันโดยทั่วไปในเลเยอร์ชั้นนี้ ได้แก่
- โปรโตคอล Reliable Connection-oriented โดยทำหน้าที่จัดลำดับของข้อมูล ตรวจสอบ ตำแหน่งของต้นทางและปลายทางของข้อมูล ทำให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้ - โปรโตคอล Datagram เพื่อลดขนาดของ Overhead ของข้อมูล และจัดเส้ทางการสื่อสาร
- โปรโตคอล Speed เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลโดยการลดเวลาประวิง (Delay) ให้เหลือน้อยที่สุด
- โปรโตคอล Real-time เป็นการรวมลักษณะของโปรโตคอReliable Connection-oriented กับโปรโตคอลSpeed
4. เลเยอร์ Process/Application ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่แชร์แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่ง กันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลที่อยู่ไกลออกไปในปัจจุบัน TCP/IP เป็นโปรโตคอลชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ทั้งในเครือข่าย Internet LAN และ WAN ในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นระบบ UNIX ,OS/2 MS-DOS ,มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมและระบบปฏิบัติการหลายชนิดในระบบ LAN เช่น Netware 4.X และ 5.X , VINES และ LAN Manager ก็ออกแบบมาให้สามารถรองรับโปรโตคอล TCP/IP ได้ แม้ว่าส่วน ใหญ่จะถูกนำมาใช้กับเครือข่ายLAN แบบ Ethenet แต่ TCP/IP ก็สามารถนำมาใช้กับ LAN แบบ Token-Ring และแบบARCnet ได้เช่นกัน ซึ่งแทบจะ เรียกได้ว่าโปรโตคอลตัวนี้เป็นตัวหลัก และสำคัญมากที่สุดตัว หนึ่งในปัจจุบัน