วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550

อุปกรณ์ที่ใช้บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  1. LAN Card หน้าที่ของ LAN Card เป็นการ์ดที่ทำหน้าที่รีบส่งข้อมูลผ่านสายนำสัญญาณ เช่น สายเคเบิล หรือผ่านคลื่นวิทยุ จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง
  2. Network Cable สายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์ ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTB, STB ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำไปใช้ เช่น ติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน เป็นต้น (UTP สามารถติดตั้งได้ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร)
  3. สวิตซ์ (SWITCH) ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ โดยมี Port ไว้สำหรับเสียบสาย LAN ที่ต่อมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือน HUB ต่างกันที่ส่งข้อมูลที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น เพื่อลดปัญหาการชนการของข้อมูล
  4. เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราเตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราเตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น

เปรียบเทียบการรับส่งข้อมูลของ TCP/IP กับ OSI Model

เนื่องจาก OSI เกิดขึ้นมาหลังจากที่ TCP/IP ได้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายไปแล้ว โดยTCP/P ใช้ในเครือข่าย ARPANET เป็นเครือข่ายแรก ซึ่งต่อมาได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มาตรฐานของ TCP/P เป็นที่ยอมรับ กันอย่างกว้างขวาง และการที่ TCP/IP เป็นโปรโตคอลชนิดที่ให้ใช้ได้ฟรีไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ การใช้งานTCP/IP ก็ยิ่งมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นไปอีกจนถือเป็นมาตรฐานที่มีผู้ใช้รับส่งข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
เมื่อ TCP/IP เป็นมาตรฐานที่เกิดขั้นก่อน OSI 7-Layer Model มาตรฐานของTCP/IP จึงไม่ใช่มาตราฐานเดียว กันกับของ OSI โดย TCP/IP จะมีการแบ่งจำนวนขั้นตอนที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองระบบออกเป็น 4 ชั้น เท่านั้น หรือ เรียกว่าเป็นTCP/IP Stack โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้
ชั้นบนคือ Process Layer จะเป็น Application Protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ เช่น FTP, Telnet, SNMP ฯลฯ

ชั้นถัดมาคือ Host-to-Host Layer จะควบคุมการรับส่งข้อมูลจากด้านส่งถึงด้านรับข้อมูล
ชั้นถัดลงมาคือ Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ทำหน้าที่เชื่อต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ เครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป และทำหน้าที่เลือกเส้นทางการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ จนไปถึงผู้รับส่งข้อมูล
ส่วนชั้นสุดท้ายคือ Network Interface จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ และควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับ ฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย ซึ่งที่ใช้กันอยู่จะเป็นตามมาตรฐานของ IEEE เช่น IEEE 802.3 จะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน LAN แบบ Ethernet LAN หรือ IEEE802. จะเป็ฯการเชื่อมต่อผ่าน LAN แบบ Token Ring

ปัญหาไอทีกับธุรกิจ

  • มนุษย์สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ง่ายมากขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตทำให้ไม่ต้องพกเงินสด และทำให้อัตราการเป็นหนี้สูงขึ้น
  • มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น เพราะต่างก็มุ่งหวังผลกำไรึ่งก็เกิดผลดี คืออัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงขึ้น แต่ผลกระทบก็เกิดตามมา คือ บางครั้งก็มุ่งแข่งขันกันจนลืมความมีมนุษยธรรมหรือความมีน้ำใจ
  • ทำให้มีการแข่งขันทางด้านธุรกิจสูงจนบางครั้งทำให้ลิมนึกถึงศีลธรรม
  • การขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีจะทำให้การค้าขายไม่ทันเพื่อนบ้าน
  • หากไม่วางแผนการใช้เงินจะทำให้ยากจนลงเกิดหนี้พอกพูนเพราะบัตรเครดิตใบเดียวสามารถใช้เงินได้ล่วงหน้ามากมาย

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข้อเสียของการใช้"อินเตอร์เน็ต"

1.เป็นสื่อลามก
2.เป็นการทำให้เยาวชนไม่รู้จักการแบ่งเวลา
3.อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ควบคุมลำบาก
4.อินเตอร์เน็ตอาจเป็นสื่อร้ายถ้าคนใช้มีความประสงค์ไม่ดี
5.ทำให้เยาวชนมีมนุษย์สัมพันธ์ที่น้อยลง และ มกมุ่นอยู่กับตัวเอง
6.ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวน้อยลง