วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 8การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์

FTP เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ได้รับความนิยมสูงสุด คุณสมบัติของ FTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ได้
วิธีการรับส่งของ FTP คือ
1.Stream Mode รับส่งข้อมูลเรียงลำดับไบต์ส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ
2.Block Mode การรับส่งข้อมูลที่เป็นบล็อค
3.Compressed Mode วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลระบบเสริมอื่น ๆในการเรียกใช้ข้อมูลข้ามเครื่องGetRight เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ จะถูกเรียกขึ้นมาทำงานโดยอัตโนมัติ โดยจะมาแทนที่ไดอะล็อกซ์ปกติของบราวเซอร์ โดยจะบันทึกชื่อ URL ที่ดาวน์โหลดไฟล์นั้น ๆและชื่อไฟล์เอาไว้
WebNFS สามารถใช้งานกับระบบไฟล์แบบ NFS จุดเด่นของ WebNFS ก็คือ การโอนย้ายข้อมูลซึ่งจะมีกลไกที่สามารถตรวจสอบและรับส่งไฟล์ต่อจากที่เคยส่งต่อมาแล้วแต่ไม่สำเร็จได้ด้วยWebDAV มีความสามารถหลัก 3 ข้อคือ การป้องกันการบันทึกข้อมูลซ้ำ,คุณสมบัติของทรัพยากรและการจัดการCIFS จะยอมให้คอมพิวเตอร์อื่นที่ต่อผ่านเครือข่ายเข้ามาสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ของ CIFS ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

บทที่ 7 อีเมล์ และโปรโตคอลของอีเมล์

ถ้าจะติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย จะต้องใช้โปรโตคอล TCP/IPTCP เพื่อแยกข้อมูลออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า PackageIC เพื่อระบุหมายเลขประจำเครื่องปลายที่จะรับ หรือส่งข้อมูลไปถึงเนื่องจากบริการรับ-ส่ง E-mail ผู้ใช้มีความต้องการที่หลากหลาย แตกต่างกัน รูปแบบการทำงานของบริการรับ-ส่ง E-mail ซึ่งเป็น ข้อกำหนดหรือโรโตคอล ของการรับ-ส่ง Email จึงมีเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1. การรับส่ง E-mail ผู้ใช้จะระบุผู้รับปลายทางด้วย E-mail Address @ (ระบบจะเปลี่ยน domain name เป็น IP address ก่อนส่ง)2. การรับ-ส่งไฟล์ที่เป็น E-mail ระบบจะทำการรับ-ส่งกันเป็นทอดๆ จาก domain หนึ่งไปอีก domain หนึ่ง ต่อๆ กันไป (ใช้โปรโตคอล SMTP) 3. ผู้ใช้อาจต้องการใช้โปรแกรม Web browser เปิดอ่านเมล์โดยตรง (Webmail)4. ผู้ใช้อาจต้องการใช้โปรแกรม Microsoft Outlook, Outlook Expressเปิดเมล์แล้ว ต้องการให้เมล์ยังคงอยู่ใน Mailbox ที่Webmail (ใช้โปรโตคอล IMAP4)เปิดเมล์แล้ว ต้องการนำเมล์ (move) ไปเก็บในคอมพิวเตอร์ของตนเอง (POP3)E-mail ที่ส่งไปยังผู้รับในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้วิธีการรับ-ส่งกันเป็นทอดๆ ซึ่งเป็นข้อกำหนดของโปรโตคอล SMTP ที่จะส่ง E-mail ผ่านเครื่อง Mail Server จำนวนมากที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต E-mail จะถูกส่งไปจนถึงเครื่องตามที่ระบุไว้ใน domain name (ส่วนที่สามของ email address) ก่อนกระบวนการส่งdomain name จะถูกแปลงเป็น IP เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านของคอมพิวเตอร์ E-mail จะถูกแบ่งออกเป็น Package ตามเงื่อนไขของโปรโตคอล TCPรูปแบบของการเปิดอ่าน E-mail ที่ส่งมาถึง Mail Server (ตาม domain name ที่ระบุไว้ใน Email Address) ขึ้นอยู่กับการบริการของ Mail Server ที่มีหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันมี 3 รูปแบบแบบ Webmail,แบบ POP3,แบบ IMAP4

บทที่ 6 Domain Name System(DNS),Dynamic Host Configuration Protocol(DHCP) และ Lightweight Directory Access Protocol(LDAP)

Domain Name System (DNS)ระบบ Domain Name System หรือ DNS นี้เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address (name-to-IP Address mapping) โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP Address หรือทำกลับกันได้ มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมอื่น ๆ อีก เช่น แจ้งชื่อของอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ใน domain ที่รับผิดชอบด้วย ดังนั้นเครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1 เครื่องจะมีการอ้างถึงได้หลายแบบดังนี้
1.อ้างตามชื่อ domain
2.อ้างตาม IP Address
3.อ้างตามหมายเลขฮาร์ดแวร์หรือ MAC address Primary และ Secondary DNS
Dynamic Host Configuration Protocol(DHCP) เป็นระบบสำหรับกำหนดแอดเดรสแบบไดนามิคขึ้นมาใช้งาน โดยจะทำหน้าที่แจกจ่ายแอดเดรสและพารามิเตอร์ที่จำเป็นให้กับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ภายในเครือข่ายโดยอัตโนมัติ

บทที่ 3 โครงสร้างของโปรโตคอล TCP/IP

โครงสร้างของสถาปัตยกรรมของชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนกรรมวิธีปฏิบัติการหรือโปรเซส (Process) โฮสต์ (Host) และเครือข่าย (Network) ในส่วนของโปรเซสก็ได้ แก่ เอนทิตี้หรือแอปพลิเคชันที่ต้องการติดต่อสื่อสารนั่นเอง ทุกโปรเซสจะกระทำในเครื่องโฮสต์ (หรือสเตชั่น) ซึ่งในแต่ละโฮสต์สามารถจะมีหลาย ๆ เอนทิตี้ไดพร้อมกันการสื่อสารระหว่างเอนทิตี้ของโฮสต์เครื่องหนึ่ง หรือ หลายเครื่องจะกระทำโดยผ่านทางเครือข่ายที่โฮสต์เชื่อมต่ออยู่
การทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างโปรเซส โฮสต์ และเครือข่ายของสถาปัตยกรรม TCP/IP ทำให้สามารถจัดรูปแบบของสถาปัตยกรรม TCP/IP ได้เป็น 4 เลเยอร์ และสามารถกำหนดชนิดของ โปรโต- คอลที่ ทำงานในแต่ละเลเยอร์ได้เป็น 4 แบบโปรโตคอลเช่นกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นเอนทิตี้ของแต่ละเลเยอร์อาจจะติดต่อสื่อสารข้อมุลโดยผ่านเอนทิตี้ในเลเยอร์เดียวกัน หรือเอนทิตี้ ในเลเยอร์ล่างลงไปซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป้นเลเยอร์ติดกันได้ เลเยอร์ของชุดโปรโตคอล TCP/IP ทั้ง 4 ชั้น คือ
1. เลเยอร์ Network Access
2. เลเยอร์ Internet
3. เลเยอร์ Host-to-Host
4. เลเยอร์ Process/Application
รายละเอียดแต่ละเลเยอร์
1. เลเยอร์ Network Access จะประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่าย หน้าที่ของโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้คือจัดหาเส้นทางของข้อมูลให้ระหว่าง Host กับ Host ควบคุมการไหล ของข้อมูล และควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล
2. เลเยอร์ Internet ประกอบด้วยขั้นตอนการอนุญาตให้ข้อมูลไหลผ่านไปมาระหว่าง Host ของ เครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ดังนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น Internet นอกจากจะมีหน้าที่จัดเส้นทาง ของข้อมูลแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นเกตเวย์สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายอื่นอีกด้วย
3. เลเยอร์ Host-to-Host ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ส่งผ่านแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เอนทิตี้ของ Host ต่างเครื่องกัน นอกจากนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของ ข้อมูลและควบคุมความผิดพลาดของข้อมุลด้วย โปรโตคอลที่ใช้กันโดยทั่วไปในเลเยอร์ชั้นนี้ ได้แก่
- โปรโตคอล Reliable Connection-oriented โดยทำหน้าที่จัดลำดับของข้อมูล ตรวจสอบ ตำแหน่งของต้นทางและปลายทางของข้อมูล ทำให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้ - โปรโตคอล Datagram เพื่อลดขนาดของ Overhead ของข้อมูล และจัดเส้ทางการสื่อสาร
- โปรโตคอล Speed เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลโดยการลดเวลาประวิง (Delay) ให้เหลือน้อยที่สุด
- โปรโตคอล Real-time เป็นการรวมลักษณะของโปรโตคอReliable Connection-oriented กับโปรโตคอลSpeed
4. เลเยอร์ Process/Application ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่แชร์แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่ง กันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลที่อยู่ไกลออกไปในปัจจุบัน TCP/IP เป็นโปรโตคอลชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ทั้งในเครือข่าย Internet LAN และ WAN ในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นระบบ UNIX ,OS/2 MS-DOS ,มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมและระบบปฏิบัติการหลายชนิดในระบบ LAN เช่น Netware 4.X และ 5.X , VINES และ LAN Manager ก็ออกแบบมาให้สามารถรองรับโปรโตคอล TCP/IP ได้ แม้ว่าส่วน ใหญ่จะถูกนำมาใช้กับเครือข่ายLAN แบบ Ethenet แต่ TCP/IP ก็สามารถนำมาใช้กับ LAN แบบ Token-Ring และแบบARCnet ได้เช่นกัน ซึ่งแทบจะ เรียกได้ว่าโปรโตคอลตัวนี้เป็นตัวหลัก และสำคัญมากที่สุดตัว หนึ่งในปัจจุบัน

บทที่ 2 โปรโตคอลและ IP Address

โปรโตคอลและ IP Address
โปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล
โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง การออกแบบโปรโตคอล เช่น
โปรโตคอล IPX/SPX, โปรโตคอล NetBEUI, โปรโตคอล AppleTalk เป็นต้นโปรโตคอล IPX/SPX พัฒนาโดยบริษัท Novellโปรโตคอล NetBEUI พัฒนาโดยบริษัท Microsoftโปรโตคอล AppleTalk พัฒนาโดยบริษัท AppleTalkIP Address คือ หมายเลขอ้างอิงประจำตัวของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้MAC Address คือ หมายเลขที่ถูกกำหนดมาจากบริษัท ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้IPv6 คือ มีขนาด 128 บิต ตัวโปรโตคอล IP ได้มีการปรับปรุงส่วน header ให้สนับสนุนการประมวลผลจาก Router ได้เร็วขึ้น ลักษณะการทำงานมี 3 แบบคือ unicast, multicast และ anycastการจัดลำดับชั้นของเครือข่าย (Network Class)Class A IP Address บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น 0 เสมอClass B IP Address 2 บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น 1 และ 0 เสมอClass C IP Address 3 บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น1, 1 และ 0 เสมอ