วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เปรียบเทียบการรับส่งข้อมูลของ TCP/IP กับ OSI Model

เนื่องจาก OSI เกิดขึ้นมาหลังจากที่ TCP/IP ได้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายไปแล้ว โดยTCP/P ใช้ในเครือข่าย ARPANET เป็นเครือข่ายแรก ซึ่งต่อมาได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มาตรฐานของ TCP/P เป็นที่ยอมรับ กันอย่างกว้างขวาง และการที่ TCP/IP เป็นโปรโตคอลชนิดที่ให้ใช้ได้ฟรีไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ การใช้งานTCP/IP ก็ยิ่งมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นไปอีกจนถือเป็นมาตรฐานที่มีผู้ใช้รับส่งข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
เมื่อ TCP/IP เป็นมาตรฐานที่เกิดขั้นก่อน OSI 7-Layer Model มาตรฐานของTCP/IP จึงไม่ใช่มาตราฐานเดียว กันกับของ OSI โดย TCP/IP จะมีการแบ่งจำนวนขั้นตอนที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองระบบออกเป็น 4 ชั้น เท่านั้น หรือ เรียกว่าเป็นTCP/IP Stack โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้
ชั้นบนคือ Process Layer จะเป็น Application Protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ เช่น FTP, Telnet, SNMP ฯลฯ

ชั้นถัดมาคือ Host-to-Host Layer จะควบคุมการรับส่งข้อมูลจากด้านส่งถึงด้านรับข้อมูล
ชั้นถัดลงมาคือ Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ทำหน้าที่เชื่อต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ เครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป และทำหน้าที่เลือกเส้นทางการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ จนไปถึงผู้รับส่งข้อมูล
ส่วนชั้นสุดท้ายคือ Network Interface จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ และควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับ ฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย ซึ่งที่ใช้กันอยู่จะเป็นตามมาตรฐานของ IEEE เช่น IEEE 802.3 จะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน LAN แบบ Ethernet LAN หรือ IEEE802. จะเป็ฯการเชื่อมต่อผ่าน LAN แบบ Token Ring

ไม่มีความคิดเห็น: